
1.ออมอย่ างมีวินัย
การออมเป็นสิ่งทีดี โดยควรตั้งเป้าหมายในการออมระยะสั้นไว้ด้วย
เช่น ออมให้ได้ 300 บาทหรือมากกว่านั้นต่อสัปดาห์ ก็จะทำให้เรา
ไม่รู้สึกหนักจนเกินไปและมีกำลังใจในการเก็บเงิน และควรวางแผน
การเกษียณไว้ด้วย อย่ าเพียงแค่ทำงานไปให้ผ่านไปทุกๆเดือน
2.ลดรายจ่ายเรื่องเสื้อผ้า
ลองเรียนรู้วิธี DIY เปลี่ยนชุดเก่าให้เป็นชุดเก๋ รวมถึงหากเรา
สามารถนำเสื้อผ้าที่มีอยู่มาจับคู่ดี ๆ เปลี่ยนไปมาก็ดูเหมือนว่า
เราได้เสื้อผ้าใหม่ตลอดเวลาได้เหมือนกัน และควรเลือกเสื้อผ้า
ที่ใช้วัสดุคุณภาพดี เพราะเมื่อเราซื้อเสื้อผ้าราคาถูกที่เนื้อผ้าไม่ดี
หรือการตั ดเย็ บไม่ดี จะทำให้เสื้อผ้าเหล่านั้นเสื่อมสภาพเร็วด้วย
3 .แบ่งประเภทและลำดับความสำคัญการใช้จ่าย
เราควรวางแผนรายจ่ายให้ละเอียด ตั้งงบประมาณให้กับรายจ่าย
ประจำที่สำคัญก่อน เช่น ค่าเช่าบ้าน ค่าน้ำ ค่าไฟ เป็นต้น
4 .ซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีคุณภาพและประหยัดไฟ
เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ดีจะมีอายุการใช้งานที่นาน ทำให้เรานั้นไม่ต้อง
เสี ยเงินเพื่อเปลี่ยนอันใหม่บ่อย ๆ เป็นสิ่งของชิ้นใหญ่ที่ควรลงทุน
เพื่อความสะดวกสบาย และควรตระหนักถึงการประหยัดพลังงานด้วย
5. หยุดรูดบัตรเครดิต โดยที่ยังไม่มีความจำเป็น
บางทีความสะดวกสบายของบัตรเครดิตก็ทำให้ใช้เกินงบ
ประมาณที่ตั้งไว้ด้วยเช่นกัน จนทำให้เก็บเงินได้ไม่ถึงเป้า
เทคนิคง่าย ๆ ในการยับยั้งชั่งใจก็คือ เขียนข้อความเตือน
ตัวเองบนกระดาษเล็ก ๆ แปะบนบัตรเครดิตเอาไว้เลย
6 .ใช้เวลา 24 ชั่ ว โมง ในการตัดสินใจซื้อ
เวลาที่คุณอย ากซื้อของสักอย่ าง ให้กลับบ้านไปแล้วลอง
คิดไตร่ตรองอีกสัก 24 ชั่ ว โมงก่อน เพราะเมื่อเรามีเวลาคิด
ทบทวนอย่ างถี่ถ้วน ก็อาจจะไม่อย ากได้มันแล้วก็ได้ หรือ
ลองคำนวณราคาสิ่งของที่จะซื้อ เปรียบเทียบกับจำนวนค่า
ตอบแทนรายวันจากการทำงานของคุณดูก่อน
7. อย่ า บ้ า สะสม
เข้าใจว่าของสะสมมันเป็นของที่มีคุณค่าทางจิตใจ แต่ว่า
อย่ างไรก็ตาม ใครที่เป็นนักสะสมก็มักจะเต็มไปด้วยรายจ่าย
ที่รั่วไหล ถ้าคุณไม่หยุดตัวเองเลย เมื่อมองย้อนกลับมาอีกที
อาจพบว่ามีของสะสมอยู่เต็มบ้านไปหมด แต่เงินในบัญชีกลับ
ว่างเปล่าซะงั้น ขอแนะนำให้ปล่อยขายบ้างเมื่อราคาสูงขึ้น
เพื่อเป็นการรักษ สมดุลทางการเงิน
8.งดออกไปทานข้าวนอกบ้าน
อีกวิธีหนึ่งที่จะช่วยลดรายจ่ายได้ก็คือการประหยัดค่าใช้จ่าย
ก้อนนี้ให้มากขึ้น เช่น ลองตั้งเป้าว่าจะนำอาหารมาทานเองสัก
1-2 วันต่อสัปดาห์ ก็จะช่วยลดรายจ่ายค่าอาหารได้ด้วย
9.จัดสมการตั้งต้นการออม
เราไม่ควรมองเงินออมเป็นเงินเหลือ แต่ควรมองเป็นเงินที่ถูก
จัดหมวดหมู่เอาไว้ว่า นี่คือเงินออมโดยเฉพาะ เช่น เราจะออม
เงิน 2,000 บาท โดยเรามีเงินเดือน 18,000 บาท แปลว่าเรา
ต้องใช้จ่ายให้ไม่เกิน 16,000 บาท นั่นเอง
10.จดบันทึกรายรับรายจ่าย
การจดบันทึกรายรับรายจ่าย จะทำให้เรารู้ว่าเราหมดเงินไปกับอะไร
และหมดไปเท่าไหร่ มันจำเป็นไหม ควรตัดมันออกหรือลดลงหรือเปล่า
11.มีหลายๆบัญชี
ลองฝากประจำหรือลงทุนแบบตัดอัตโนมัติดูสิ เราจะได้ไม่ต้อง
มากังวลว่าเดือนนี้ได้ออมเงินหรือฝากเงินเข้าธนาคารแล้วหรือยัง
ซึ่งวิธีนี้ง่ายต่อการไปถึงเป้าหมายการออมที่วางไว้ด้วย
12 สนุกกับความบันเทิงง่าย ๆ
การไปเที่ยวตามห้างสรรพสินค้า หรือเที่ยวข้างนอกจะทำให้
เราพบกับสิ่งล่อตาล่อใจมากมายจนจ่ายเงินไปในจำนวนมาก
กว่าที่ตั้งใจเอาไว้ ลองมีสักวันที่คุณสร้างความสุขและความ
บันเทิงง่าย ๆ ได้ที่บ้าน อย่ างฟังเพลง ดูโทรทัศน์ อ่านหนังสือ
13.เดินทางด้วยขนส่งสาธารณะ
การเดินทางด้วยรถสาธารณะช่วยให้เราประหยัดเงินได้มาก
และยังช่วยประหยัดพลังงานแทนการขับรถยนต์ส่วนตัวด้วย
หรือลองซื้อบัตรรายเดือนของรถไฟฟ้า รถเมล์ ก็จะพบว่าค่า
โดยสารยิ่งราคาถูกลงไปอีก