
มาดูกันว่า กฎการออมเงินแบบ 50-30-20 นั้นจะมีวิธีการแบ่งเงินอย่ างไร
มาดูว่าเราจะแบ่งเงินในแต่ละสัดส่วนอ ย่ างไร
ส่วนแรก : 50% สำหรับค่าใช้จ่ายที่จำเป็น
อ้างอิงจากก ฎการออมเงิน 50-30-20 คุณควรแบ่งเงินครึ่งหนึ่ง
ของรายรับไว้สำหรับใช้จ่ายกับส่วนที่จำเป็นในชีวิต ซึ่งค่าใช้จ่าย
ที่จำเป็น เช่น ค่าบ้าน ค่าอาหาร ค่าเดินทาง ค่าสาธารณูปโภคต่างๆ
หากคุณยังสับสน และไม่แน่ใจในการ แบ่งเงินในส่วนดังกล่าว
ลองดูตัวอย่ างดังต่อไปนี้
ตัวอย่ าง ค่าใช้จ่ายที่อาจจะทำให้คุณสับสน
การชำระหนี้ เจ้าหนี้มักจะกำหนดให้เราต้องชำระเงินจำนวนหนึ่งในแต่ละเดือน
ดังนั้น ค่าใช้จ่ายขั้นต่ำในการชำระหนี้ จึงนับเป็นหนึ่งในค่าใช้จ่ายที่จำเป็น
แล้วเราจะจัดการอย่ างไรหากเราอย ากจ่ายมากกว่ายอดขั้นต่ำ?
เพื่อไม่ให้สับสนและลำบากในการคำนวณ
เราจะนับค่าใช้จ่าย นอกเหนือจากการชำระหนี้ขั้นต่ำ เป็นหนึ่งในสัดส่วนของ 20%
ค่าสาธารณูปโภคอื่นๆ โดยปกติแล้วเรา จะนับว่าค่าสาธารณูปโภคคือ ค่าใช้จ่ายที่
จำเป็น แต่เมื่อคิดดูแล้วการคำนวณเช่นนี้ อาจจะไม่ถูกต้องสำหรับทุกคน
ตัวอย่ าง เช่น หากคุณทำงานที่บ้าน มีค่าอินเทอร์เน็ตจ ะจัดว่าเป็นค่าใช้จ่ายที่จำเป็น
แต่ถ้าคุณใช้งานอินเทอร์เน็ตเพื่อความบันเทิง ค่าใช้จ่ายส่วนนี้ถือว่าไม่จำเป็น
ส่วนที่ 2 : 30% ใ ช้กับสิ่งที่ต้องการ
ไม่ว่าคุณจะเลือกใช้จ่ายเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ความฟุ่มเฟือย เล็กๆน้อยๆ หรือ เพื่อ..ความสนุกสนาน
ค่าใช้จ่ายเหล่านี้ จัดว่าเป็นค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นในการดำรงชีวิต แต่ทำให้ชีวิตของคุณมีสีสันมากขึ้น
หากคุณใช้เงินมากกว่า 30% ไปกับสิ่งที่ต้องการ นั่นหมายความว่าได้เวลาที่คุณจะตั ดหรือลดค่าใช้จ่าย
ในส่วนนี้แล้ว ซึ่งในช่วงแรกๆ นั้น คุณอาจจะลองเริ่มจากสิ่งที่คุณสามารถตัดหรือลดได้ทันที
และเริ่มคำนวณค่าใช้จ่ายทั้งหมด และจัดเข้าหมวดหมู่จะดียิ่ง
ส่วนที่ 3 : 20% สำหรับเงินออมและชำระหนี้
เงินในส่วนนี้ นับเป็นส่วนสุดท้ายในกฎการออมเงิน 50/30/20 ถือว่าเงินส่วนนี้
เป็นส่วนที่สำคัญ สิ่งที่ควรทำเพื่อประกันอนาคตของคุณก็คือ ชำระหนี้เพิ่มเติม
ออมเงินไว้ใช้ในย ามฉุ ก เ ฉิ น พย าย ามบรรลุเป้าหมายการออมเงินและลงทุน
เพื่อใช้ในย ามเกษียณ หากคุณมีหนี้จำนวนมากหรือรู้สึกว่าเป้าหมายในการออม
หลังเกษียณช่างห่างไกลเหลือเกิน อ ย่ า ลั ง เลที่จะลดค่าใช้จ่ายที่จำเป็นหรือ
ลดค่าใช้จ่ายที่จะใช้กับสิ่งที่ต้องการ จนกว่าคุณจะมีสถานะทางการเงินที่ดีขึ้น
ควรหลีกเลี่ ยง การตั้งเป้าหมาย การออมเงินที่สูงเกินไป แต่เริ่มจากเป้าหมาย
การออมเงินที่เราสามารถทำได้จริงในระยะย าว