
1.ลดค่าใช้จ่ายรายวันลง
รายจ่ายในแต่ละวันที่มันไม่จำเป็นเราสามารถลดลงได้ เช่น ในทุกวันเคยทานข้าว
ในร้านห้องแอร์ ลองเปลี่ยนมาเป็นห่อข้าวมากินเองหรือทานร้านตามสั่งธรรมดาๆ
งดชา กาแฟลง วิธีเหล่านี้จะช่วยเราประหยัดได้ขึ้นอีกด้วย
2.บันทึกค่าใช้จ่ายเพื่อความบันเทิงรายวัน
ชค่าใช้จ่ายเพื่อความบันเทิงในที่นี้ก็คือ เงินที่จ่ายไปเพื่อเข้าสังคมนั่นเอง เช่น
ไปงานเลี้ยงต่างๆ ค่าของขวัญ ค่าซองงานแต่งงานต่างๆ ค่าสังสรรค์ ป าร์ ตี้
สิ่งเหล่านี้เป็นค่าใช้จ่ายที่ต้องบันทึกและประมาณการไว้ด้วย
3.บันทึกค่าใช้จ่ายประจำวัน
เมื่อเราได้รายได้แล้ว สิ่งสำคัญก็คือการบันทึกค่าใช้จ่ายประจำวัน
อย่ าง ค่าอาหาร ที่พัก ค่าเดินทางงดรถ งวดบ้าน และอื่นๆ ที่ต้อง
จ่ายในแต่ละวัน และแต่ละเดือนว่าเป็นจำนวนเท่าไหร่
4.รวบรวมค่าใช้จ่ายที่จำเป็น
ลองคำนวนดูว่า ค่าใช้จ่ายทั้งหมดในแต่ละเดือน และในแต่ปีนั้น
มีประมาณเท่าไหร่ เพื่อที่เราจะได้รู้ว่าค่าใช้จ่ายทั้งหมดทั้งปีที่
เกิดขึ้นนั้นมันประมาณเท่าไหร่ และมาจากอะไร
5.ดูรายรับของเราแต่ละเดือน
ดูว่าเงินเดือนเราแต่ละเดือนได้มาเท่าไหร่ แล้วให้เราคำนวนว่า
1 ปีเรามีเงินรายได้ทั้งหมดเท่าไหร่ จะได้ดูเป็นเงินก้อนแถมมี
กำลังใจว่าเราก็สามารถทำเงินในแต่ละปีได้ไม่น้อยทีเดียว
6. ประมาณการและติดตามรายรับพิเศษตลอดทั้งปี
ข้อนี้ลองมาดูรายได้พิเศษที่ได้รับมา เช่น ค่าคอมมิชชั่น
โบนัส หรือรายได้พิเศษอื่นๆ แล้วลองบันทึกเป็นตัวเลขไว้
ให้แยกออกจากรายได้ประจำนะ และเงินส่วนนี้อย่ างน้อย
มันก็สะสมนำมาเป็นเงินทุนได้
7.กำหนดเป้าหมายในการเก็บเงิน
เมื่อเรารู้หมดแล้วว่ารายได้และรายจ่ายทั้งปีนั้นประมาณเท่าไหร่
สิ่งที่ควรทำต่อก็คือ กำหนดเป้าหมายเลยว่าจะเก็บจะออมเงิน
ในแต่ละเดือนเท่าไหร่
8.ตรวจสอบเป้าหมายการออมและเงินที่ออมได้ในแต่ละเดือน
เราต้องดูตัวเองด้วยว่า เป้าหมายที่เราได้วางไว้นั้นเราซื่อสัตย์
กับมันมากน้อยแค่ไหน มีวินัยในตัวเองหรือเปล่า เพราะหลายๆคน
มาต ก ม้ า ต า ย เอาตอนนี้ เพราะข าดความ อดทน ไม่จริงจัง
กับตัวเอง ทำให้เราไม่สามารถเก็บออมเงินเพื่อมาเป็นทุนได้
จงพย าย ามและตั้งใจที่จะทำจริงๆ เก็บเงินให้ได้ ออมให้อยู่
ลดละเลิกค่าใช้จ่ายที่ไม่เกิดประโยชน์ด้วย