
การเถียงในที่นี้ก็คือ ไม่ว่าจะเป็นการโต้แย้งในเรื่องการงาน หรือเรื่องอื่นๆกับใครก็ตาม
เป้าหมายสูงสุดของทุกคนก็คือ การชนะการโต้แย้งในครั้งนั้นให้ได้นั่นเอง ทั้งนี้แล้ว
นักวิทยาศาสตร์พบว่ามันมีหลากวิธีการพูดที่สามารถช่วยให้คุณ เป็นฝ่ายที่คุมบทสนทนา
หรือสามารถเอาชนะอีกฝ่ายได้อย่ างน่าสนใจ มาดูพร้อมกันเลยมีอะไรบ้าง
1. ยอมรับความคิดเห็นของอีกฝ่าย
การแสดงให้อีกฝ่ายเห็นว่าคุณเห็นด้วยกับความคิดในบางส่วนของเขา พร้อมกับบอก
เหตุผลเขาไปด้วยว่าเพราะอะไรนั้น อาจทำให้อีกฝ่ายเย็นลงและพิจารณาความคิดเห็น
ของคุณอีกด้วย นอกจากนี้มันยังทำให้บรรยากาศดูผ่อนคลายมากยิ่งขึ้นด้วย
2.ให้อีกฝ่ายได้อธิบายความคิดของเขาก่อน
การให้เขาได้แชร์มุมมองหรือความคิดของเขาก่อนนั้น สามารถช่วยให้คุณมีเวลา
คิดหาคำโต้แย้งได้ นอกจากนี้ให้คุณลองถามคำถามที่เป็นลักษณะปลายเปิด
และก ร ะตุ้ น ให้อีกฝ่ายอธิบายให้ได้มากที่สุด การทำเช่นนี้อาจช่วยลดโอกาส
ที่เขาจะพูดขัดในระหว่างที่คุณพูดได้อีกด้วย
3. สบตาเขา
ในขณะที่อีกฝ่ายกำลังพูดอยู่นั้นให้คุณมองตาเขา เพราะว่ามีงานวิจัยพบว่าการมองคู่สนทนา
จะช่วยสนับสนุนให้เกิดการจูงใจ แต่ทั้งนี้การหลบตาคู่ต่อสู้ มักเป็นสัญญาณที่บอกได้ด้วยว่า
คุณมีความพึงพอใจในตัวเองค่อนข้างต่ำ ในขณะที่การสบตาอีกฝ่ายสามารถบ่งบอกได้ถึง
ความมั่นใจในตนเอง และความซื่อสั ตย์ได้ด้วย
4. บอกเขาในสิ่งที่คุณเห็นด้วย
การพูดสนับสนุนบางความคิดเห็นของอีกฝ่ายนั้น สามารถช่วยให้บรรยากาศดีขึ้นได้ด้วย
จะทำให้อีกฝ่ายนั้นดูใจเย็นลงและไม่เกิดความรู้สึกลบต่อคุณมากเกินไป นอกจากนี้แล้ว
เมื่อความคิดเห็นของอีกฝ่ายไม่ได้ถูกคุณโจมตีทั้งหมด เขาก็มีแนวโน้มที่จะรับฟังสิ่งที่คุณพูดนั่นเอง
5. เตรียมข้อมูลให้พร้อม
ก่อนที่คุณจะทำการโต้แย้งกับใครก็ตาม สำคัญมากคือคุณต้องมีข้อมูลและต้องเข้าใจ
สิ่งนั้นๆได้อย่ างถ่องแท้เสี ยก่อน เพราะคุณจะได้ใช้โต้ตอบในกรณีที่อีกฝ่ายไม่เห็นด้วย
กับความคิดเห็นของคุณ นอกจากนี้การรู้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับความคิดเห็นของคู่แข่ง
จะสามารถช่วยให้สิ่งที่คุณโต้แย้งดูมีน้ำหนักมากยิ่งขึ้นด้วย
6. พูดสิ่งที่คุณเข้าใจเกี่ยวกับข้อโต้แย้งของอีกฝ่าย
ก่อนที่คุณจะแสดงความคิดเห็นของตัวเองออกไปนั้น ให้คุณพูดทวนสิ่งที่ฝ่ายตรงข้ามพูดอีกครั้ง
ซึ่งวิธีนี้มันจะช่วยทำให้เกิดความไว้วางใจกันมากขึ้น เพราะคู่สนทนาเห็นว่าคุณตั้งใจฟังในสิ่งที่เขาพูด
ทั้งนี้คุณอาจมีแนวโน้มที่จะชนะการโต้แย้งในครั้งนี้ ถ้าฝ่ายตรงข้ามรู้สึกว่าเขาสามารถไว้วางใจคุณได้
7. ก ร ะ ตุ้ นให้อีกฝ่ายเห็นด้วยกับคุณ
การพูดบางคำในขณะที่คุณแสดงความคิดเห็นของตัวเองอยู่นั้น อาจช่วยโน้มน้าวให้อีกฝ่ายมีท่าที
ที่อ่อนลงและคล้อยตามสิ่งที่คุณพูด โดยคุณอาจลงท้ายประโยคด้วยคำว่า “ จริงไหม ” หรือ“ ถูกไหม ”
แทนการพูดไปเรื่อยๆ โดยไม่มีคำถามช่วยกระตุ้น
8. ลดเสียงให้เบาลง
บางทีการพูดเสียงอาจทำให้ผู้พูดรู้สึกว่าตัวเองมีพ ลั งและมีอำน าจ แต่มันอาจทำให้คุณพ่ ายแ พ้ได้
เช่นเดียวกัน ยิ่งไปกว่านั้นมันอาจทำให้ฝ่ายตรงข้ามฮึ ดสู้ และสุดท้ายคุณก็อาจโดนเขาเ ผ ด็ จศึ กแทน
หากคุณใช้เสียงที่เบาลงแต่ยังคงชัดถ้อยชัดคำ คนฟังก็จะรู้สึกสบายใจและบรรยากาศจะไม่ตึ งเค รี ย ด
จนเกินไป อีกทั้งยังทำให้อีกฝ่ายคล้อยตามได้ง่ายขึ้นด้วย