
มีเรื่องเล่ามาว่า ตอนสมัยก่อนที่คานธียังเรียนอยู่ที่ประเทศอังกฤษ มีอาจารย์ท่านนึง
ซึ่งเขาไม่ค่อยชอบคานธีเลย จึงมักจะพูดเสี ยดสีให้เขาอับอายอยู่ตลอดเวลา และเขา
มักจะโดนอาจารย์บางคนดูถูกด้วยเพราะว่าเขาเป็นคนเอเชีย และยังมีผิวสีจึงทำให้
เข้ากับอาจารย์บางคนไม่ค่อยได้ วันหนึ่ง..คานธีได้ไปกินข้าวที่โรงอาหาร และเขาก็ได้
เดินไปเพื่อที่จะขอนั่งร่วมโต๊ะทานข้าวกับอาจารย์ แต่อาจารย์คนนั้นกลับเอ่ยประโยค
ขึ้นมาว่า…“ คานธีเธอรู้ใช่ไหมว่า หงส์กับหม า มันกินข้าวด้วยกันไม่ได้นะ !! ”
คานธีได้ฟังและนิ่งไปพักหนึ่ง และเขาก็นึกอะไรขึ้นมาได้เขาจึงตอบกลับอาจารย์ไปว่า…
“ ได้ครับ งั้นผมจะบินไปกินที่อื่นก็ได้ครับ ” พร้อมกับถือจานข้าวแล้วลุกไปยังอีกโต๊ะหนึ่ง
อาจารย์ท่านนั้นรู้สึกโ ก ร ธ คานธีเป็นอย่ างมาก ที่ตัวเองโดนเปรียบเทียบว่าเป็นหม า
เขาจึงคิดวิธีเพื่อจะหาทางเอาคืนคานธีนั่นเอง ในระหว่างที่อยู่ในชั้นเรียนอาจารย์จึงได้
ตั้งคำถามกับคานธีต่อหน้าเพื่อนๆคนอื่นในห้อง เพื่อหวังให้คานธีตอบไม่ได้แล้วต้องอับอาย
อาจารย์จึงได้ถามคานธีว่า ” ถ้ามีกล่องอยู่ 2 ใบ กล่องหนึ่งใส่ความรู้ไว้ และอีกกล่อง
ใส่ความร่ำรวย ” เป็นเธอ เธอจะเลือกกล่องไหนคานธี ?? คานธีได้ฟังคำุถามของอารจารย์
แล้วจึงตอบอาจารย์ไปว่า..“ ผมเลือกความร่ำรวยครับ ” หลังที่อาจารย์ได้ฟังคำตอบแล้ว
ก็ยิ้มเย้ยทันที พร้อมกับพูดว่า.. “ ถ้าเป็นอาจารย์นะ จะเลือกเป็นกล่องความรู้ ”
คานธียังนิ่งอยู่…แล้วก็นึกอะไรขึ้นได้ จึงตอบกลับอาจารย์ไปอีกว่า …
“ ใช่ครับ เพราะคนเราก็ต้องอย ากได้ในสิ่งที่ตัวเองไม่มีอยู่แล้วครับ ”
เมื่ออาจารย์ฟังคำตอบแล้ว ก็ยิ่งโ ก ร ธและโมโหมากกว่าเดิมไปอีก แต่ก็ได้แค่เก็บไว้ในใจ
พอวันต่อมา… อาจารย์ตรวจข้อสอบ แต่คานธีกลับทำถูกหมดทุกข้อ อาจารย์ไม่รู้จะทำยังไง
จึงได้เขียนใลงในกระดาษคำตอบของคานธีว่า “ ไ อ้งั่ ง ” เมื่อคานธีได้รับกระดาษคำตอบคืน
ก็ตกใจกับสิ่งที่อาจารย์คนนั้นทำลงไป เขานั่งคิดสักพัก แล้วก็เดินไปหาอาจารย์พร้อมกับบอกว่า…
“ อาจารย์ครับ อาจารย์เซ็นชื่อแล้ว แต่ลืมให้คะแนนผมครับ ”
บางครั้ง หากเราเป็นผู้ที่ต้องถูกคนอื่นกระทำอยู่ตลอดเวลา การตอบโต้ก็ไม่ใช่เรื่องแ ย่เสมอไป
แต่เราสามารถเลือกวิธีที่จะตอบโต้ได้ โดยไม่ต้องใช้กำลังหรือทำให้เกิดเรื่องราวใหญ่โต
จงใช้ไหวพริบที่ดีในการตอบโต้กลับ เพื่อให้เขาสำนึกเสี ยบ้าง มันก็ไม่ได้แ ย่นะ
ก็เหมือนกับ “ คนที่ป าโคลนใส่คนอื่น มือของเขามักจะเปื้อนก่อนเสมอ ” ฉันใดก็ฉันนั้น