
เรื่องที่แม่ต้องสอนลูก ไม่ใช่แค่ให้เรียนหนังสือเก่งๆ แต่ต้องเป็นผู้ใหญ่ที่ดี และมีความสุขด้วย
โตขึ้นไปจะได้ไม่ลำบาก การสร้างสังคมที่ดีให้เขานั้น สามารถเริ่มต้นได้จากตัวเรา และก็ต้อง
ช่วยกันปลูกฝังความดีสู่หัวใจลูกตั้งแต่ยังเล็ก สำหรับเทคนิคการเลี้ยงลูกให้จิตใจดีต้องเริ่ม ดังนี้
1. ฝึกลูกให้รู้จักช่วยงานบ้าน
การฝึกเขาให้ช่วยงานบ้าน สามารถเริ่มได้ตั้งแต่เล็กประมาณ 2 ขวบ เพราะเขาเริ่มฟังได้และ
สามารถเข้าใจคำสั่งง่ายๆ ได้แล้ว ดังนั้น เราควรฝึกเขาให้ช่วยงานบ้านขั้นพื้นฐาน อย่ างเช่น
เก็บของเล่นหลังจากที่เล่นเสร็จแล้ว นำเสื้อผ้าที่ใส่ล้วไปใส่ในตะกร้า แบบนี้เป็นต้น การให้
ลูกช่วยงานบ้าน โดยเริ่มจากสิ่งที่เขาควรต้องรับผิดชอบเอง ทำให้เด็ กได้เรียนรู้เรื่องหน้าที่
ของตนเองได้ ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นในการใช้ชีวิตในสังคม พอเขาเริ่มโตขึ้นก็ค่อยๆเพิ่มหน้าที่
ต่างๆภายในบ้านให้เหมาะสมกับวัย เขาก็จะเรียนรู้ว่าสิ่งต่างๆ ที่ทำได้ด้วยตนเอง
2. สอนเรื่องอารมณ์ต่าง ๆให้เขา
พ่อแม่มักให้ความสำคัญกับการสอนลูกให้เป็นที่หนึ่งในด้านวิชาการ เรื่องม ารย าท หรือในเรื่อง
ของก ฎระเบียบต่างๆ แต่กลับลืมสอนเรื่องการรับมือกับอารมณ์ตั้งแต่เขายังเล็ก ดังนั้นพ่อแม่ควร
เริ่มต้นสอนให้ลูกรู้จักอารมณ์ต่างๆของตัวเอง ด้วยการเอ่ยชื่ออารมณ์นั้นๆ เมื่อเขาแสดงออกมา
เช่น เมื่อเขาร้องไห้ที่ไม่ได้ของเล่น อาจจะบอกเขาว่า แม่รู้ว่าลูกกำลังเสี ยใจที่ไม่ได้ของเล่น
หรือ เมื่อลูกโ ก ร ธที่ถูกแย่ งขนม ก็ต้องถามเขาว่าลูกกำลังโกรธอยู่ใช่ไหม แต่แม่อย ากให้ลูก
ลองหายใจเข้าลึกๆ ทำใจเย็นๆ การสอนเช่นนี้จะช่วยทำให้เขาเรียนรู้ที่จะจัดการกับอารมณ์ของ
ตัวเองเมื่อโตขึ้นได้ และไม่นำอารมณ์ของตัวเองมาเป็นข้ออ้างในการทำร้ ายผู้อื่นนั่นเอง
3. ฝึกให้เขาสามารถช่วยเหลือตัวเองได้
เพื่อเป็นพื้นฐานทักษะอื่นต่อไป เพ ราะการที่เขาสามารถช่วยเหลือตัวเองได้ และลดการพึ่งพา
คนอื่นได้นั้น จะทำให้เขามีความมั่นใจในตัวเอง ลดความกั งวล และพร้อมที่จะเรียนรู้ทักษะอื่นๆ
ในชีวิตประจำวันต่อไปได้นั่นเอง
4. สอนเขาให้รู้จักแ ก้ปัญหา
บ่อยครั้งที่ลูกทำผิ ดพ ลาด พ่อแม่หลายๆคนมักจจะชอบตำห นิหรือดุลูก เพื่อไม่ให้ลูกทำผิดอีก
การทำเช่นนี้จะทำให้เขากคิดว่าการทำผิดเป็นเรื่องใหญ่โต และกลั วที่จะทำผิดหรือจะปกปิด
ความคิดของตนเองโดยการโกหก ดังนั้นพ่อแม่ควรเริ่มต้นในการให้อภัยลูก แล้วชวนเขาแก้ไข
ปัญหาหลังจากที่เกิดข้อผิ ดพล าดแล้ว อาทิเช่น เขาวิ่งแล้วทำน้ำหก พ่อแม่ควรฝึกให้เขารับ
ผิดชอบในสิ่งที่ทำ นั่นก็คือ เช็ดน้ำและเก็บแก้วให้เป็นที่ หลังจากนั้นก็ชวนให้เขาคิดได้ว่า
ในครั้งหน้าจะต้องระวังอย่ างไร เพื่อให้ไม่เกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้นอีก
5. ฝึกระเบียบวินัยให้เขา
เพื่อเป็นทักษะการควบคุมตนเองและยับยั้งชั่งใจให้แก่ลูก นับเป็นพื้นฐานต่อการทนต่อสิ่งยั่ วยุต่างๆ
ในชีวิตประจำวัน ซึ่งสามารถทำได้ตั้งแต่เขายังเล็กๆ เช่น การตื่นนอนและเข้านอนให้เป็นเวลา
การรับประทานอาหารให้เป็นเวลา การเก็บของเล่นให้เป็นที่เป็นทางหลังเล่นเสร็จแล้ว ไม่รับประทาน
ขนมหรืออาหารในห้องนอน เป็นต้น
6. สร้างแรงบันดาลใจด้วยเรื่องเล่า
สร้างแรงบันดาลใจด้วยเรื่องเล่า สำหรับเด็ กเล็กโลกของเขายังไม่กว้างพอมากนัก การเล่าเรื่องราวต่างๆ
จากนิทาน หรือประวัติศาสตร์อย่ างง่ายๆเกี่ยวกับบุคคลสำคัญ จะช่วยทำให้ลูกเข้าใจเรื่องการช่วยเหลือกัน
และกันในสังคมได้ดียิ่งขึ้น คนเป็นพ่อแม่อาจถามลูกว่าหากเกิดเหตุการณ์เหมือนในนิทานขึ้นกับลูก แล้วลูก
ควรทำอย่ างไร แล้วคุณลองฟังคำตอบของลูก แล้วค่อยชื่นชมหรือตั้งคำถามกับเขา เพื่อชี้แนะแนวทางที่ถูก
ต้องให้ ควรหลีกเลี่ยงที่จะวิจ ารณ์และตั ดสินว่าคำตอบของลูกนั้นถูกหรือผิ ด เพื่อให้เขาได้ฝึกคิดได้ด้วยตนเอง
โดยมีพ่อแม่เป็นผู้ชี้นำแนวทางที่เหมาะสมให้แก่เขาควบคู่ไปด้วย
7. พาเขาไปเจอคนที่หลากหลาย
วิธนี้นับเป็นการฝึกให้ลูกมีความเห็นอ กเห็นใจผู้อื่นและเข้าใจสังคมมากขึ้น นั่นก็คือทำให้เขาเห็นว่าในโลกนี้
มีคนที่แ ต กต่างจากเรามากมาย ทั้งสีผิ ว เชื้ อชา ติ ภาษา และความคิด ซึ่งสิ่งที่แ ต กต่างกันเหล่านี้มันไม่ได้
แปลว่าต้องผิ ดเสมอไป การพาลูกออกเดินทางท่องเที่ยวได้เห็นวิถีชีวิตของผู้คนที่แ ต กต่างกันออกไป
พร้อมกับชี้แนะแนวทางที่เหมาะสมให้เขา จะทำให้ลูกเข้าใจความเป็นไปของโลกใบนี้ได้ดีขึ้นนั่นเอง
นอกจากเรื่องที่แม่ต้องสอนลูกตามที่ได้กล่าวมาข้างต้นแล้ว พ่อแม่ ผู้ปกครอง หรือคนในครอบครัวก็ต้องเป็นต้นแบบ
หรือแบบอย่ างที่ดีให้แก่เขาด้วย เพราะการเห็นแบบอย่ างที่ดี จะทำให้ เด็ กสามารถจดจำการทำความดีได้มากกว่า
การใช้เพียงคำพูด การเลี้ยงลูกต้องใช้ความอ ดท น และความเข้าใจเป็นสำคัญ เพราะกว่าที่ลูกจะรู้เรื่องและทำตาม
ในสิ่งดี ๆ ได้ ก็ต้องใช้เวลาฝึกฝน ปฏิบัติเป็นประจำ หากพ่อแม่หมั่นสอนสิ่งสำคัญที่จำเป็นแก่เขา เขาก็จะเติบโตเป็น
ผู้ใหญ่ที่ดีขึ้นได้อย่ างแน่นอน